KRLSC

Category City Data Platform

KRLSC ร่วมนำร่อง Korat City Data Catalog กับสถิติแห่งชาติ ตอบโจทย์ยุทธศาสตร์ชาติ พื้นที่น่าอยู่และเมืองอัจฉริยะ

Loading

วันที่ 31 สิงหาคม 2566 ดร.สฤษดิ์ ติยะวงศ์สุวรรณ อาจารย์ประจำหลักสูตรนวัตกรรมการพัฒนาเมืองฯ สาขาการขนส่ง คณะระบบรางและการขนส่ง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน หัวหน้าโครงการวิจัย เรื่อง “ต้นแบบกลไกสร้างแผนพัฒนาเมืองโคราชด้านบริการสาธารณะและเศรษฐกิจดิจิทัลสู่ความเป็นเมืองศูนย์กลางที่น่าอยู่และชาญฉลาด” ได้นำเสนอโครงการ Korat City Data Catalog to City Development Platform เชื่อมโยงนโยบายเมืองอัจฉริยะและระบบราชการ 4.0 ตามนโยบาย Thailand 4.0 สู่นิเวศข้อมูลมหัตของประเทศไทย หรือ Thailand Big Data ร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั่วประเทศไทย กว่า 200 หน่วยงาน โดยมี นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
(ดีอีเอส) เป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนา “โครงการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ (Government Data Catalog) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566” ซึ่งเป็นกิจกรรมสัมมนาที่จัดขึ้นโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

การประชุมฯ Government Data Catalog จัดขึ้น ณ โรงแรมเอส 31 สุขุมวิท มีวัตถุประสงค์เพื่อประชาสัมพันธ์และสร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของบัญชีข้อมูลภาครัฐ พร้อมการบรรยายรายละเอียดฟีเจอร์ใหม่และประสิทธิภาพของ Government Data Catalog ที่ได้รับการพัฒนาให้ชาญฉลาดยิ่งขึ้น เรียกว่า Smart Plus

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เปิดเผยว่า ด้วยเล็งเห็นความสำคัญในการ
บูรณาการข้อมูลข้ามหน่วยงาน การพัฒนาและบริหารจัดการบัญชีข้อมูลภาครัฐจึงเกิดขึ้น ถือเป็นก้าวสำคัญ
ที่นำไปสู่การขับเคลื่อนการทำงานของภาครัฐให้มีขีดสมรรถนะสูงและทันสมัย เพื่อเป็นรัฐบาลดิจิทัลอย่างแท้จริง คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบการดำเนินงานของคณะกรรมการขับเคลื่อนการดำเนินนโยบายเพื่อใช้ประโยชน์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ศูนย์ข้อมูล (Data Center) และคลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud Computing) และเห็นชอบให้หน่วยงานภาครัฐร่วมมือกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติทำหน้าที่เป็นหน่วยงานหลักในการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ และระบบนามานุกรม

ดร.สฤษดิ์ ติยะวงศ์สุวรรณ ได้กล่าวท้ายการเสวนาในที่ประชุม เกี่ยวกับความคาดหวังยกระดับและการพัฒนาของ Thailand Big Data น่าจะสามารถนำไปสู่การสร้าง Module การออกแบบระดับ Development เพื่อส่งเสริมการเกิด Digital Provider บูรณาการในการสร้าง City Digital Solution ด้านต่าง ๆ ให้กับเมืองสามารถนำไปสู่ความเป็นเมืองที่น่าอยู่และชาญฉลาดของประเทศไทยในอนาคตได้

โครงการวิจัย เรื่อง “ต้นแบบกลไกสร้างแผนพัฒนาเมืองโคราชด้านบริการสาธารณะและเศรษฐกิจดิจิทัลสู่ความเป็นเมืองศูนย์กลางที่น่าอยู่และชาญฉลาด ได้รับพิจารณาสนับสนุนการดำเนินจาก กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กองทุนส่งเสริม ววน.) และ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ปีงบประมาณ 2565 #TSRI #สกสว #หน่วยบริหารจัดการทุนเพื่อการพัฒนาระดับพื้นที่ #NXPO #สอวช #PMUA #บพท

Government Data Catalog Smart Plus : Utilization

Loading

Click เพื่อดูรายละเอียด

โดย นายยุทธพงศ์ อุณหทวีทรัพย์ อ.อู๋

ที่ปรึกษาโครงการพัฒนาสารสนเทศยุทธศาสตร์ภาครัฐ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

Korat City Scanning and Citizen Engagement Workshop

Loading

คณาจารย์หลักสูตรนวัตกรรมการพัฒนาเมืองฯ สาขาการขนส่ง คณะระบบรางและการขนส่ง มทร.อีสาน นำร่องต้นแบบกลไกสร้างแผนพัฒนาเมืองโคราชสู่เมืองที่น่าอยู่และชาญฉลาด

วันศุกร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ.2566 เวลา 8:30-12:00 ณ ห้องอรพิม โรงแรม สีมาธานี นครราชสีมา

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ได้รับพิจารณาสนับสนุนทุนชุดโครงการวิจัย เรื่อง “ต้นแบบกลไกสร้างแผนพัฒนาเมืองโคราชด้านบริการสาธารณะและเศรษฐกิจดิจิทัลสู่ความเป็นเมืองศูนย์กลางที่น่าอยู่และชาญฉลาด” โดยมี ดร.สฤษดิ์ ติยะวงศ์สุวรรณ เป็นหัวหน้าชุดโครงการ ร่วมกับ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) เพื่อขับเคลื่อนกิจกรรมการสร้างเครือข่ายสู่การเรียนรู้ในการประเมินสถานะของเมืองโคราชร่วมกัน เพื่อการกำหนดวิสัยทัศน์ นโยบาย แผนงานและโครงการ กับการลงทุนที่เกี่ยวข้องการบริการสาธารณะในระดับเชิงพื้นที่เมืองโคราชนำไปสู่ความเป็นเมืองที่น่าอยู่และชาญฉลาด สอดคล้องดังแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 พ.ศ.2566-2570 ในหมุดหมายที่ 6 ว่าไทยมีพื้นที่และเมืองอัจฉริยะที่น่าอยู่ ปลอดภัย เติบโตได้อย่างยั่งยืน

ได้จัดกิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการสำรวจทิศทางการพัฒนาเมืองโคราชที่น่าอยู่และชาญฉลาด หรือ City Scanning and Citizen Engagement ผ่านการกำกับกระบวนการโดย นิรัติกร แสงดี ภายใต้โครงการ “ต้นแบบกลไกสร้างแผนพัฒนาเมืองโคราชด้านบริการสาธารณะและเศรษฐกิจดิจิทัลสู่ความเป็นเมืองศูนย์กลางที่น่าอยู่และชาญฉลาด” โดย ดร.สฤษดิ์ ติยะวงศ์สุวรรณ และ “ต้นแบบกลไกการยกระดับและขับเคลื่อนเมืองโคราชสู่เมืองแห่งการเรียนรู้” โดย ดร.ติณณ์ ถิรกุลโตมร และ “ระบบการสำรวจข้อมูลทางสังคมเพื่อยกระดับการพัฒนาท้องถิ่น” โดย ดร.ปรเมษฐ์ บันสิทธิ์ เล็งเห็นถึงความสำคัญของการดำเนินการขับเคลื่อนเพื่อให้เกิดการสำรวจและจัดทำฐานข้อมูลทิศทางการพัฒนาเมืองและสังคมแบบเปิดในระดับพื้นที่เพื่อใช้ประโยชน์ในการวางแผนและเรียนรู้การพัฒนาได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ทุกภาคส่วนเข้าใจถึงสถานการณ์และแนวทางการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่มีความซับซ้อน โดยสามารถนำไปสู่การพัฒนาเมืองตามแนวคิด “เมืองน่าอยู่และชาญฉลาด” ได้อย่างสอดคล้องและเหมาะสมต่อบทบาทของเมืองโคราช พร้อมกับความเชื่อมโยงการพัฒนาที่มาจากแผนระดับนโยบายทางด้านสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม อันจะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนทั้งในปัจจุบันและอนาคต

ผู้เข้าร่วม workshop อาทิ สำนักงานจังหวัดนครราชสีมา เทศบาลนครนครราชสีมา คณะกรรมการพัฒนาเมืองอัจฉริยะนครราชสีมา ผู้แทนราษฏรเมืองโคราช เขต 1-3 กลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน และมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

กิจกรรมนี้เป็นการขับเคลื่อนระดับประเทศเปรียบเทียบระหว่างเมืองในการใช้เครื่องมือ City Scanning and Citizen Engagement อาทิ เมืองโคราช เมืองระยอง และเมืองเชียงใหม่ ภายใต้วิสัยทัศน์ของหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) กรอบวิจัย การพัฒนเมืองที่น่าอยู่และชาญฉลาด

โดย มีวัตถุประสงค์ ได้แก่ 1) สำรวจข้อมูลเชิงพื้นที่และประมวลผลสู่ระบบบัญชีข้อมูลเปิดเผยเพื่อการพัฒนาเมืองโคราช ภายใต้แนวคิด “เมืองที่น่าอยู่และชาญฉลาด” 2) วิเคราะห์โอกาสการพัฒนาของเมือง ทบทวนแผนยุทธศาสตร์ รวมถึงกำหนดแนวทางของการสร้างเป้าหมายและการวิเคราะห์ หาตัวชี้วัด ระดับของบริการของเมืองที่เหมาะสม และ 3) สร้างเครือข่ายความร่วมมือของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของเมืองในการขับเคลื่อนเมืองอย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้ฐานข้อมูลเพื่อการตัดสินใจและออกแบบวางแผนเพื่อการพัฒนาพื้นที่

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ กล่าวคือ ชุดข้อมูลเบื้องต้นของพื้นที่เมืองโคราชจากกลุ่มผู้เข้าร่วมกิจกรรม และดัชนีชี้วัดที่เหมาะสมกับการพัฒนาพื้นที่เมืองโคราช ตลอดจนการสังเคราะห์ความพร้อมของชุดข้อมูลของเมืองโคราชต่อการพิจารณากระบวนการกำหนดนโยบายและแผนงานจากการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ รวมถึงการสร้างวิสัยทัศน์และฉากทัศนที่พึงประสงค์ของการพัฒนาเมืองโคราชต่อไป

ปีงบประมาณ 2565 #TSRI #สกสว #หน่วยบริหารจัดการทุนเพื่อการพัฒนาระดับพื้นที่ #NXPO #สอวช #PMUA #บพท