KRLSC
สกสว.  สอวช. บพท. –  ร่วมพิธีเปิดงาน “Agro FEX 2023”  วันที่ 28 – 29 ตุลาคม 2566 Kotat Hall เซ็นทรัล โคราช

Loading

เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2566 รศ. ดร.ปัทมาวดี โพชนุกูล ผู้อํานวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)พร้อมด้วย ดร.สิริพร พิทยโสภณ  รองผู้อำนวยการ สำนักงานสภานโยบาย การอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) และ รศ.ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม รองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กรหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่(บพท.)  ร่วมในพิธีเปิดงาน “Agro FEX 2023 ” โดย นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (รมว.DE) เป็นประธานในพิธี     

ในช่วงเช้า ที่ห้องประชุมพลล้าน โรงแรมเซนทารา โคราช ผู้บริหารของ สกสว. สอวช. บพท. อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง จ.นครราชสีมา หอการค้า  สภาอุตสาหกรรม จังหวัดนครราชสีมา  พร้อมด้วยภาคเอกชนในจังหวัดนคราชสีมา กว่า 20 หน่วยงาน ได้ร่วมจัดการประชุมหารือ กับหน่วยงานในพื้นที่ 

ช่วงบ่ายได้เข้าร่วมประชุมนำเสนอวาระ Smart city Korat แก่  นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

ทั้งนี้จังหวัดนครราชสีมาได้มีประเด็นนำเสนอผลงานและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายพัฒนาระบบโครงข่ายขนส่งสาธารณะ การยกระดับสู่การเป็นโคราชเมืองที่มีมลภาวะต่ำ  

จากผลงานวิจัย  ขณะเดียวกัน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคอีสาน ได้ทุนสนับสนุนวิจัยจาก บพท. ในโอกาสนี้ด้วย

มทร.อีสาน ประชุมเข้มหารือ “แนวทางโครงการ EV Conversion และมาตรการสำคัญเพื่อผลักดันให้เกิดการปฏิบัติและบรรลุวัตถุประสงค์อย่างเป็นรูปธรรม

Loading

วันที่ 26 กันยายน 2566 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน โดย รองศาสตราจารย์ ดร.โฆษิต ศรีภูธร อธิการบดี มทร.อีสาน พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เอนก เจริญภักดี รองอธิการบดีฝ่ายยุทธศาตร์ นโยบายและแผน, ผู้ช่วยศาสตราจารย์นัฐวุฒิ ทิพย์โยธา รองอธิการบดีฝ่ายส่งเสริมและพัฒนากิจการมหาวิทยาลัย, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชูชัย ต.ศิริวัฒนา ที่ปรึกษาด้าน EV มทร.อีสาน, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศตคุณ เดชพันธ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี, รองศาสตราจารย์ ดร.อภิชิต คาภาหล้า คณบดีคณะระบบรางและการขนส่ง พร้อมคณะผู้บริหาร คณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ด้าน EV มทร.อีสาน และบุคลากร ต้อนรับนายโชติศักดิ์ อาสภวิริยะ เลขาธิการคณะกรรมการขับเคลื่อนผลงานและนโยบายของพรรคเพื่อไทย และอดีตผู้อำนวยการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ พร้อมคณะ ในโอกาสร่วมประชุมหารือขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ EV ร่วมกันเพื่อผลักดันให้เกิดการปฏิบัติและบรรลุวัตถุประสงค์อย่างเป็นรูปธรรม ณ ห้องประชุมแคนา 1 และศูนย์การศึกษาหนองระเวียง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

รัฐมนตรีเมืองโคราช พบปะหารือส่วนราชการและเอกชน เพื่อร่วมกันพัฒนาจังหวัดนครราชสีมา

Loading

วันนี้ (9 กันยายน 2566) เวลา 13.00 น. ที่ห้องประชุมหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ ชั้น 3 ศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และนางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ได้ลงพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา เพื่อพบปะหารือส่วนราชการและภาคเอกชนในจังหวัดนครราชสีมา เพื่อร่วมกันหารือการพัฒนาจังหวัดนครราชสีมา

KRLSC ร่วม Pitching นำเสนอโครงการโคราชเมืองคาร์บอนต่ำ กับ World Bank และ บพท.

Loading

วันที่ 1 กันยายน 2566 ดร.สฤษดิ์ ติยะวงศ์สุวรรณ อาจารย์ประจำหลักสูตรนวัตกรรมการพัฒนาเมืองฯ สาขาการขนส่ง คณะระบบรางและการขนส่ง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน หัวหน้าโครงการวิจัย เรื่อง “ต้นแบบกลไกสร้างแผนพัฒนาเมืองโคราชด้านบริการสาธารณะและเศรษฐกิจดิจิทัลสู่ความเป็นเมืองศูนย์กลางที่น่าอยู่และชาญฉลาด” ได้นำเสนอโครงการ Korat EV City การส่งเสริมการใช้ EV conversion ในภาคขนส่งสาธารณะของเมืองโคราช เพื่อประเมินศักยภาพการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการพัฒนาเมืองรองในประเทศไทยของ World Bank

ทั้งนี้ กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กองทุนส่งเสริม ววน.) และ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ได้จัดเวทีประชุมโต๊ะกลมหารือจุดร่วมระหว่างนโยบายการพัฒนาเมืองรองของประเทศไทยประเด็นด้านต่าง ๆ อาทิ เมืองคาร์บอนต่ำ TOD (การพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน) ตลอดจนข้อเสนอแนวทางต่าง ๆ ที่ได้จากผลผลิตงานวิจัยจำนวน 11 โครงการ ทั่วประเทศไทย ซึ่งเมืองโคราชเป็น 1 ใน 11 โครงการ นำเสนอกับ World Bank สามารถนำผลผลิตชุดโครงการวิจัย นำโดย ดร.สฤษดิ์ ติยะวงศ์สุวรรณ สู่ระบบนิเวศเชิงพาณิชย์ที่ลดคาร์บอนและสร้างคาร์บอนเครดิต ตลอดจนผลกระทบทั้งในมิติของอรรถประโยชน์ทางเศรษฐศาสตร์ (EIRR) และความคุ้มค่าการลงทุนทางสังคม (SROI) ข้อสรุปของโครงการจะนำไปสู่การพิจารณาขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรมกับ บพท. และเครือข่ายนักวิจัยระดับประเทศไทยต่อไป

โครงการวิจัย เรื่อง “ต้นแบบกลไกสร้างแผนพัฒนาเมืองโคราชด้านบริการสาธารณะและเศรษฐกิจดิจิทัลสู่ความเป็นเมืองศูนย์กลางที่น่าอยู่และชาญฉลาด” ได้รับพิจารณาสนับสนุนการดำเนินจาก กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กองทุนส่งเสริม ววน.) และ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ปีงบประมาณ 2565 #TSRI #สกสว #หน่วยบริหารจัดการทุนเพื่อการพัฒนาระดับพื้นที่ #NXPO #สอวช #PMUA #บพท

KRLSC ร่วมนำร่อง Korat City Data Catalog กับสถิติแห่งชาติ ตอบโจทย์ยุทธศาสตร์ชาติ พื้นที่น่าอยู่และเมืองอัจฉริยะ

Loading

วันที่ 31 สิงหาคม 2566 ดร.สฤษดิ์ ติยะวงศ์สุวรรณ อาจารย์ประจำหลักสูตรนวัตกรรมการพัฒนาเมืองฯ สาขาการขนส่ง คณะระบบรางและการขนส่ง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน หัวหน้าโครงการวิจัย เรื่อง “ต้นแบบกลไกสร้างแผนพัฒนาเมืองโคราชด้านบริการสาธารณะและเศรษฐกิจดิจิทัลสู่ความเป็นเมืองศูนย์กลางที่น่าอยู่และชาญฉลาด” ได้นำเสนอโครงการ Korat City Data Catalog to City Development Platform เชื่อมโยงนโยบายเมืองอัจฉริยะและระบบราชการ 4.0 ตามนโยบาย Thailand 4.0 สู่นิเวศข้อมูลมหัตของประเทศไทย หรือ Thailand Big Data ร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั่วประเทศไทย กว่า 200 หน่วยงาน โดยมี นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
(ดีอีเอส) เป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนา “โครงการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ (Government Data Catalog) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566” ซึ่งเป็นกิจกรรมสัมมนาที่จัดขึ้นโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

การประชุมฯ Government Data Catalog จัดขึ้น ณ โรงแรมเอส 31 สุขุมวิท มีวัตถุประสงค์เพื่อประชาสัมพันธ์และสร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของบัญชีข้อมูลภาครัฐ พร้อมการบรรยายรายละเอียดฟีเจอร์ใหม่และประสิทธิภาพของ Government Data Catalog ที่ได้รับการพัฒนาให้ชาญฉลาดยิ่งขึ้น เรียกว่า Smart Plus

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เปิดเผยว่า ด้วยเล็งเห็นความสำคัญในการ
บูรณาการข้อมูลข้ามหน่วยงาน การพัฒนาและบริหารจัดการบัญชีข้อมูลภาครัฐจึงเกิดขึ้น ถือเป็นก้าวสำคัญ
ที่นำไปสู่การขับเคลื่อนการทำงานของภาครัฐให้มีขีดสมรรถนะสูงและทันสมัย เพื่อเป็นรัฐบาลดิจิทัลอย่างแท้จริง คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบการดำเนินงานของคณะกรรมการขับเคลื่อนการดำเนินนโยบายเพื่อใช้ประโยชน์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ศูนย์ข้อมูล (Data Center) และคลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud Computing) และเห็นชอบให้หน่วยงานภาครัฐร่วมมือกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติทำหน้าที่เป็นหน่วยงานหลักในการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ และระบบนามานุกรม

ดร.สฤษดิ์ ติยะวงศ์สุวรรณ ได้กล่าวท้ายการเสวนาในที่ประชุม เกี่ยวกับความคาดหวังยกระดับและการพัฒนาของ Thailand Big Data น่าจะสามารถนำไปสู่การสร้าง Module การออกแบบระดับ Development เพื่อส่งเสริมการเกิด Digital Provider บูรณาการในการสร้าง City Digital Solution ด้านต่าง ๆ ให้กับเมืองสามารถนำไปสู่ความเป็นเมืองที่น่าอยู่และชาญฉลาดของประเทศไทยในอนาคตได้

โครงการวิจัย เรื่อง “ต้นแบบกลไกสร้างแผนพัฒนาเมืองโคราชด้านบริการสาธารณะและเศรษฐกิจดิจิทัลสู่ความเป็นเมืองศูนย์กลางที่น่าอยู่และชาญฉลาด ได้รับพิจารณาสนับสนุนการดำเนินจาก กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กองทุนส่งเสริม ววน.) และ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ปีงบประมาณ 2565 #TSRI #สกสว #หน่วยบริหารจัดการทุนเพื่อการพัฒนาระดับพื้นที่ #NXPO #สอวช #PMUA #บพท

Government Data Catalog Smart Plus : Utilization

Loading

Click เพื่อดูรายละเอียด

โดย นายยุทธพงศ์ อุณหทวีทรัพย์ อ.อู๋

ที่ปรึกษาโครงการพัฒนาสารสนเทศยุทธศาสตร์ภาครัฐ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

มทร.อีสาน ให้บริการสถานีชาร์จ EV สู่เมือง

Loading

📣มทร.อีสาน สำนักงานบริหารสินทรัพย์ ประกาศฯ เรื่อง หลักเกณฑ์และอัตราค่าธรรมเนียมการใช้อาคารสถานที่และทรัพย์สินฯ (ฉบับที่ 4) กรณี อัตราจัดเก็บค่ากระแสไฟฟ้า สถานีอัดประจุไฟฟ้าเพื่อการวิจัยยานยนต์ไฟฟ้า มทร.อีสาน นครราชสีมา

เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์หลักเกณฑ์ในการให้บริการถานีชาร์จ EV แก่บุคลากร นักศึกษา และประชาชนทั่วไป

รายละเอียดประกาศฯ ตามลิงค์ที่แนบมานี้ :

rmuti.me/f4scYefH8

Korat City Scanning and Citizen Engagement Workshop

Loading

คณาจารย์หลักสูตรนวัตกรรมการพัฒนาเมืองฯ สาขาการขนส่ง คณะระบบรางและการขนส่ง มทร.อีสาน นำร่องต้นแบบกลไกสร้างแผนพัฒนาเมืองโคราชสู่เมืองที่น่าอยู่และชาญฉลาด

วันศุกร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ.2566 เวลา 8:30-12:00 ณ ห้องอรพิม โรงแรม สีมาธานี นครราชสีมา

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ได้รับพิจารณาสนับสนุนทุนชุดโครงการวิจัย เรื่อง “ต้นแบบกลไกสร้างแผนพัฒนาเมืองโคราชด้านบริการสาธารณะและเศรษฐกิจดิจิทัลสู่ความเป็นเมืองศูนย์กลางที่น่าอยู่และชาญฉลาด” โดยมี ดร.สฤษดิ์ ติยะวงศ์สุวรรณ เป็นหัวหน้าชุดโครงการ ร่วมกับ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) เพื่อขับเคลื่อนกิจกรรมการสร้างเครือข่ายสู่การเรียนรู้ในการประเมินสถานะของเมืองโคราชร่วมกัน เพื่อการกำหนดวิสัยทัศน์ นโยบาย แผนงานและโครงการ กับการลงทุนที่เกี่ยวข้องการบริการสาธารณะในระดับเชิงพื้นที่เมืองโคราชนำไปสู่ความเป็นเมืองที่น่าอยู่และชาญฉลาด สอดคล้องดังแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 พ.ศ.2566-2570 ในหมุดหมายที่ 6 ว่าไทยมีพื้นที่และเมืองอัจฉริยะที่น่าอยู่ ปลอดภัย เติบโตได้อย่างยั่งยืน

ได้จัดกิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการสำรวจทิศทางการพัฒนาเมืองโคราชที่น่าอยู่และชาญฉลาด หรือ City Scanning and Citizen Engagement ผ่านการกำกับกระบวนการโดย นิรัติกร แสงดี ภายใต้โครงการ “ต้นแบบกลไกสร้างแผนพัฒนาเมืองโคราชด้านบริการสาธารณะและเศรษฐกิจดิจิทัลสู่ความเป็นเมืองศูนย์กลางที่น่าอยู่และชาญฉลาด” โดย ดร.สฤษดิ์ ติยะวงศ์สุวรรณ และ “ต้นแบบกลไกการยกระดับและขับเคลื่อนเมืองโคราชสู่เมืองแห่งการเรียนรู้” โดย ดร.ติณณ์ ถิรกุลโตมร และ “ระบบการสำรวจข้อมูลทางสังคมเพื่อยกระดับการพัฒนาท้องถิ่น” โดย ดร.ปรเมษฐ์ บันสิทธิ์ เล็งเห็นถึงความสำคัญของการดำเนินการขับเคลื่อนเพื่อให้เกิดการสำรวจและจัดทำฐานข้อมูลทิศทางการพัฒนาเมืองและสังคมแบบเปิดในระดับพื้นที่เพื่อใช้ประโยชน์ในการวางแผนและเรียนรู้การพัฒนาได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ทุกภาคส่วนเข้าใจถึงสถานการณ์และแนวทางการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่มีความซับซ้อน โดยสามารถนำไปสู่การพัฒนาเมืองตามแนวคิด “เมืองน่าอยู่และชาญฉลาด” ได้อย่างสอดคล้องและเหมาะสมต่อบทบาทของเมืองโคราช พร้อมกับความเชื่อมโยงการพัฒนาที่มาจากแผนระดับนโยบายทางด้านสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม อันจะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนทั้งในปัจจุบันและอนาคต

ผู้เข้าร่วม workshop อาทิ สำนักงานจังหวัดนครราชสีมา เทศบาลนครนครราชสีมา คณะกรรมการพัฒนาเมืองอัจฉริยะนครราชสีมา ผู้แทนราษฏรเมืองโคราช เขต 1-3 กลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน และมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

กิจกรรมนี้เป็นการขับเคลื่อนระดับประเทศเปรียบเทียบระหว่างเมืองในการใช้เครื่องมือ City Scanning and Citizen Engagement อาทิ เมืองโคราช เมืองระยอง และเมืองเชียงใหม่ ภายใต้วิสัยทัศน์ของหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) กรอบวิจัย การพัฒนเมืองที่น่าอยู่และชาญฉลาด

โดย มีวัตถุประสงค์ ได้แก่ 1) สำรวจข้อมูลเชิงพื้นที่และประมวลผลสู่ระบบบัญชีข้อมูลเปิดเผยเพื่อการพัฒนาเมืองโคราช ภายใต้แนวคิด “เมืองที่น่าอยู่และชาญฉลาด” 2) วิเคราะห์โอกาสการพัฒนาของเมือง ทบทวนแผนยุทธศาสตร์ รวมถึงกำหนดแนวทางของการสร้างเป้าหมายและการวิเคราะห์ หาตัวชี้วัด ระดับของบริการของเมืองที่เหมาะสม และ 3) สร้างเครือข่ายความร่วมมือของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของเมืองในการขับเคลื่อนเมืองอย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้ฐานข้อมูลเพื่อการตัดสินใจและออกแบบวางแผนเพื่อการพัฒนาพื้นที่

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ กล่าวคือ ชุดข้อมูลเบื้องต้นของพื้นที่เมืองโคราชจากกลุ่มผู้เข้าร่วมกิจกรรม และดัชนีชี้วัดที่เหมาะสมกับการพัฒนาพื้นที่เมืองโคราช ตลอดจนการสังเคราะห์ความพร้อมของชุดข้อมูลของเมืองโคราชต่อการพิจารณากระบวนการกำหนดนโยบายและแผนงานจากการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ รวมถึงการสร้างวิสัยทัศน์และฉากทัศนที่พึงประสงค์ของการพัฒนาเมืองโคราชต่อไป

ปีงบประมาณ 2565 #TSRI #สกสว #หน่วยบริหารจัดการทุนเพื่อการพัฒนาระดับพื้นที่ #NXPO #สอวช #PMUA #บพท

Hello world!

Loading

Welcome to WordPress. This is your first post. Edit or delete it, then start writing!